คณะและหลักสูตร | Nation University

f17-3791250

คณะสาธารณสุขศาสตร์

Bachelor of Public Health Program in Public Health

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต

ชื่อเต็มภาษาไทย      :​ สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์)

ชื่อย่อ ภาษาไทย      : ส.บ. (สาธารณสุขศาสตร์)

ชื่อเต็ม ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Public Health (Public Health)

ชื่อย่อ ภาษาอังกฤษ : B.P.H. (Public Health)

การประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

1. นักวิชาการสาธารณสุข

2. เจ้าพนักงานสาธารณสุข/เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 3. นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ 4. ผู้ประสานงานโครงการด้านสุขภาพ 5. ผู้ช่วยนักวิจัยในหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และองค์กรต่างๆ

6. พนักงานโรงพยาบาลรัฐบาล เอกชน หรือบริษัทเอกชน ในส่วนงานบริการสุขภาพ

 1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายทุกแผนการเรียนหรือเทียบเท่า 2. สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบเท่า 3. ไม่มีความประพฤติเสื่อเสีย ไม่เคยถูกศาลพิพากษาถึงขั้นจำคุก หรืออยู่ระหว่างคดีอาญา 4. เป็นผู้ที่มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่เจ็บป่วย หรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรง ไม่มีความผิดปกติที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียน5. สำหรับผู้สมัครต่างชาติต้องสอบผ่านการทดสอบภาษาไทยจามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

6. มีคุณสมบัติอื่นครบถ้วนตามที่มหาวิทยาลัยเนชั่นกำหนด

โครงสร้างหลักสูตร ตลอดหลักสูตร จำนวน 143 หน่วยกิต

     1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป      จำนวน 30 หน่วยกิต      2. หมวดวิชาเฉพาะวิชาชีพ   จำนวน 107 หน่วยกิต

     3. หมวดวิชาเลือกเสรี      จำนวน 6 หน่วยกิต

          คณะสาธารณสุขศาสตร์ก่อตั้งในปีการศึกษา 2561 โดยเปลี่ยนชื่อจากคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ  ซึ่งมีการดำเนินงานของคณะระหว่างปี พ.ศ. 2558 ถึง 2561

          ทั้งนี้คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพได้แยกการบริหารออกจากคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยีมีหลักสูตร ในความรับผิดชอบอยู่ 1 หลักสูตร คือหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิตซึ่งเป็นหลักสูตรที่ดำเนินการภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552

          โดยมีอาจารย์ภาณี  วิภาศรีนิมิต เป็นผู้จัดทำหลักสูตรและเสนอหลักสูตรต่อสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และได้รับการอนุมัติหลักสูตร เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2553 ตามบันทึกที่ ศธ. 0506(2)/7033 และได้จัดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2553

          ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้สังกัดคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยีหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต มีหน่วยกิตตลอดหลักสูตรจำนวน 130 หน่วยกิต หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 33 หน่วยกิต หมวดวิชาเฉพาะ 91 หน่วยกิต หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต จัดการเรียนการสอนในระบบทวิภาค

คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์

Bachelor of  Business Administration (Aviation Business and Air Transportation

หลักการและเหตุผล

               หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจการบินและการขนส่งทางอากาศ มุ่งมั่นในการสร้างสรรค์บัณฑิตที่มีความรู้ด้านอุตสาหกรรมการบินอย่างเชี่ยวชาญ และสามารถบริหารจัดการกิจการบินทุกประเภทได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการเรียนการสอนที่เน้นผลสัมฤทธิ์ (Outcome-based Learning) ผ่านการอบรมและฝึกฝนจากมืออาชีพ และพัฒนาผู้เรียนให้เป็นประชากรคุณภาพของโลกที่สมบูรณ์ มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตอาสา ตอบสนองความเป็นสังคมดิจิทัลในปัจจุบัน และการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย

โอกาสในการประกอบอาชีพ

               นิสิตที่สำเร็จการศึกษาสามารถทำงานในด้านธุรกิจการบินและการขนส่งทางอากาศ และธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการให้บริการทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยผู้จบการศึกษาสามารถเลือกประกอบอาชีพตามหน้าที่ต่าง ๆ ได้แก่ เจ้าหน้าที่สายปฏิบัติงานด้านการบิน โลจิสติกส์ การบริหารจัดการองค์กรในธุรกิจการให้บริการ เช่น คลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า การขนส่ง การนำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า หรือสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวง ศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ให้การรับรอง หรือสำร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาบริหารธุรกิจหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันที่กระทรวงศึกษาธิการ และ ก.พ. ให้การรับรอง

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต     ภาษาไทย : หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจการบินและการขนส่งทางอากาศ 

    ภาษาอังกฤษ : Bachelor of  Business Administration Program in Aviation Business and Air Transportation

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : บริหารธุรกิจบัณฑิต (ธุรกิจการบินและการขนส่งทางอากาศ)

ชื่อย่อ  (ภาษาไทย) : บธ.บ.(ธุรกิจการบินและการขนส่งทางอากาศ)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of  Business Administration (Aviation Business and Air Transportation)

ชื่อย่อ  (ภาษาอังกฤษ) : B.B.A. (Aviation Business and Air Transportation)

คณะเทคนิคการแพทย์

ปรัชญา  ปณิธาน  วิสัยทัศน์  พันธกิจ

  • ปรัชญา   “มุ่งพัฒนาวิชาชีพเทคนิคการแพทย์เพื่อเสริมสร้างสุขอนามัยของชุมชนและสังคม”
  • ปณิธาน   “ผลิตนักเทคนิคการแพทย์ที่มีคุณภาพและคุณธรรม”
  • วิสัยทัศน์  “สร้างเสริมนักเทคนิคการแพทย์ด้วยมืออาชีพและสนับสนุนการใฝ่เรียนรู้ต่อเนื่อง”
  • พันธกิจ

           (1) ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพยึดมั่นจรรยาบรรณวิชาชีพมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
           (2) วิจัยสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่เพื่อการพัฒนาวิชาชีพและประเทศชาติ
           (3) บริการวิชาการทางเทคนิคการแพทย์แก่ชุมชนและสังคมเพื่อส่งเสริมการมีสุขอนามัยที่ดีของประชาชน
           (4) ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมโดยการส่งเสริมและสืบทอดศิลปวัฒนธรรมไทยให้คงอยู่คู่ประเทศไทย

เอกลักษณ์ 

คณะเทคนิคการแพทย์ : STAR MT
คณะเทคนิคการแพทย์เป็นสถาบันการศึกษาที่ได้มาตรฐาน
เชี่ยวชาญงานสอนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาก้าวล้ำ นำงานวิจัยประยุกต์
                                             S= Standard
                                             T= Teaching Expertise
                                             A= Advanc
                                             R= Research application
                                             M= Modernize
                                             T= Technology

คณะสาธารณสุขศาสตร์

1.ชื่อหลักสูตร 
     
 ภาษาไทย                   :  หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
      ภาษาอังกฤษ               :  Bachelor of Public Health Program in Public Health

2. ชื่อปริญญา
      
ภาษาไทย         ชื่อเต็ม    :  สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์)
                              ชื่อย่อ     :  ส.บ. (สาธารณสุขศาสตร์)
      ภาษาอังกฤษ  ชื่อเต็ม    :  Bachelor of Public Health (Public Health)
                               ชื่อย่อ     :  B.P.H. (Public Health)

3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร    143 หน่วยกิต

4. โครงสร้างหลักสูตร
     1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป      จำนวน 30 หน่วยกิต
     2. หมวดวิชาเฉพาะวิชาชีพ   จำนวน 107 หน่วยกิต
     3. หมวดวิชาเลือกเสรี      จำนวน 6 หน่วยกิต

5. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
   
  1. นักวิชาการสาธารณสุข
     2. เจ้าพนักงานสาธารณสุข/เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
     3. นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ
     4. ผู้ประสานงานโครงการด้านสุขภาพ
     5. ผู้ช่วยนักวิจัยในหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และองค์กรต่างๆ
     6. พนักงานโรงพยาบาลรัฐบาล เอกชน หรือบริษัทเอกชน ในส่วนงานบริการสุขภาพ

6. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
    
 1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายทุกแผนการเรียนหรือเทียบเท่า
     2. สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบเท่า
     3. ไม่มีความประพฤติเสื่อเสีย ไม่เคยถูกศาลพิพากษาถึงขั้นจำคุก หรืออยู่ระหว่างคดีอาญา
     4. เป็นผู้ที่มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่เจ็บป่วย หรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรง ไม่มีความผิดปกติที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียน
     5. สำหรับผู้สมัครต่างชาติต้องสอบผ่านการทดสอบภาษาไทยจามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
     6. มีคุณสมบัติอื่นครบถ้วนตามที่มหาวิทยาลัยเนชั่นกำหนด

คณะทันตแพทยศาสตร์

เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี ใช้เวลาเรียน 6 ปี

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 223 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

 (1)  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต

      เป็นหมวดวิชาที่เสริมสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ให้มีความรอบรู้อย่างกว้างขวางเข้าใจและเห็นคุณค่าของตนเอง ผู้อื่น สังคม ศิลปวัฒนธรรม และธรรมชาติ ใส่ใจต่อความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ดําเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรมพร้อมให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของสังคมไทยและสังคมโลก

ประกอบด้วย      1.1 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จำนวน 9 หน่วยกิต
      1.2 กลุ่มวิชาภาษา  จำนวน 15 หน่วยกิต
      1.3 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 6 หน่วยกิต

(2) หมวดวิชาเฉพาะ 187 หน่วยกิต

     เป็นหมวดที่มุ่งหมายให้นิสิตมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติงานในสายวิชาชีพได้ 

ประกอบด้วย      2.1 กลุ่มวิทยาศาสตร์พื้นฐาน จำนวน 14 หน่วยกิต
      2.2 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ จำนวน 54 หน่วยกิต
      2.3 กลุ่มวิชาชีพ จำนวน 119 หน่วยกิต

(3) หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

     เป็นหมวดวิชาที่มุ่งให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจตามที่ตนเองถนัดหรือสนใจโดยเปิดโอกาสให้เลือกเรียนรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรระดับปริญญาตรีได้

คณะนิเทศศาสตร์

หลักการและเหตุผล
          หลักสูตรนิเทศศาสตร์ มุ่งผลิตนักนิเทศศาสตร์ยุคใหม่ ที่มีความรู้ในเชิงทฤษฏีและทักษะเชิงปฏิบัติ ภายใต้หลักสูตรที่ทันสมัยใช้ได้จริงในโลกธุรกิจ โดยศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคในการสื่อสารรูปแบบต่างๆ (Communication skills) เทคนิคและปฏิบัติการด้านธุรกิจและการสื่อสารการตลาด (Business and Marketing communication) การโฆษณา (Advertising) การประชาสัมพันธ์ (Public Relations) การสื่อสารมวลชน (Mass communication) และการออกแบบเพื่อการสื่อสาร (Communication Design) ด้วยเทคนิคและวิธีการสอนที่หลากหลาย อาทิ กรณีศึกษาและการนำเสนอ การอภิปรายและการสัมมนา การฝึกปฏิบัติและแสดงผลงาน การเรียนรู้นอกสถานที่ การฝึกวิชาชีพร่วมกับองค์กรชั้นนำ ที่จะทำให้บัณฑิตมีความรอบรู้ รู้ลึก และมีความสามารถปฏิบัติงานได้ในระดับมืออาชีพ โดยเน้นให้บัณฑิตมีความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ใด้อย่างมีศิลปะและเหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตามกระแสโลก

โอกาสในการประกอบอาชีพ
    -ครีเอทีฟ โปรดิวเซอร์ หรือนักประชาสัมพันธ์ในเอเจนซี่โฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือบริษัทด้านการสื่อสาร การตลาด บริษัทผู้ผลิตสื่อโฆษณา สื่อสารการตลาด และสื่อออนไลน์ และบริษัทธุรกิจต่างๆ
    -ครีเอทีฟ โปรดิวเซอร์ นักจัดรายการวิทยุ ผู้สื่อข่าว ผู้รายงานข่าวในวงการสื่อสารมวลชน
    -ช่างภาพ กราฟิกดีไซเนอร์ นักสื่อสารการตลาด เจ้าของกิจการ อาจารย์

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
    1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า (โดยเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเนชั่น ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 หมวด 3 ส่วนที่ 1 (ภาคผนวก ก) และเป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย เกี่ยวกับการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ที่สอดคล้องกับเกณฑ์ของ สกอ.)
    2. ไม่มีความประพฤติเสื่อมเสีย ไม่เคยถูกศาลพิพากษาถึงขั้นจำคุก หรืออยู่ในระหว่างคดีอาญา
    3. มีสภาพร่างกายและจิตใจปกติ ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง
    4. มีภูมิลำเนาที่ทางสถาบันติดต่อได้ตลอดเวลา

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
    1. เรียนครบจำนวนหน่วยกิตและรายวิชาตามที่กําหนดไว้ในหลักสูตร
    2. มีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 2.00
    3. ใช้ระยะเวลาไม่เกิน 2 เท่าของแผนการเรียนตามหลักสูตร นับแต่วันขึ้นทะเบียนเป็น นักศึกษาของมหาวิทยาลัย
    4. ต้องผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษ ตามประกาศมหาวิทยาลัยเนชั่น เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานความสามารถภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ.2559
    5. ต้องผ่านการทดสอบ IT Examination ตามประกาศมหาวิทยาลัยเนชั่น เรื่อง หลักเกณฑ์การทดสอบ IT Examination : Computer for Working

ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Communications Arts Program

ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : นิเทศศาสตรบัณฑิต
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : นศ.บ.
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Communications Arts
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Com.Arts.

รายละเอียดวิชา                                           
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
    1.1 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 10 หน่วยกิต
    1.2 กลุ่มวิชาภาษา 12 หน่วยกิต
    1.3 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 6 หน่วยกิต
    1.4 กลุ่มวิชาเรียนรู้ผ่านกิจกรรม 2 หน่วยกิต

2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน 97 หน่วยกิต
    2.1 กลุ่มวิชาแกนนิเทศศาสตร์ 36 หน่วยกิต
    2.2 กลุ่มวิชาชีพนิเทศศาสตร์ 39 หน่วยกิต
          2.2.1 กลุ่มวิชาเอกบังคับ 9 หน่วยกิต
          2.2.2 กลุ่มวิชาเอกเลือก 30 หน่วยกิต
    2.3 กลุ่มวิชาโท 15 หน่วยกิต
    2.4 กลุ่มวิชาฝึกปฏิบัติหรือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 7 หน่วยกิต

3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
รวมตลอดหลักสูตร 133 หน่วยกิต

รายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร

1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต ประกอบด้วย


1.1 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จำนวน 10 หน่วยกิต
    CIVI 100 อารยธรรมและประวัติศาสตร์ศิลป์ 2 (2-0-4)
    ECON 100 เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน 2 (2-0-4)
    LAWS 102 กฎหมายทั่วไป 2 (2-0-4)
    SOCU 100 สังคมและวัฒนธรรม 2 (2-0-4)
    TAPS 100 การคิด การสื่อสารและการแก้ปัญหา 2 (2-0-4)

1.2 กลุ่มวิชาภาษา จำนวน 12 หน่วยกิต
โดยเลือกเรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้
    ENCO 101 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 1 3 (2-2-5)
    ENCO 102 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2 3 (2-2-5)
    ENCO 201 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3 3 (2-2-5)
    ENCO 202 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 4 3 (2-2-5)
    THAC 101 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 1 3 (1-4-4)
    THAC 102 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 2 3 (1-4-4)
    THAC 201 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 3 3 (2-2-5)
    THAC 202 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 4 3 (2-2-5)
    ASEN 101 ภาษาอาเซียนเพื่อการสื่อสาร 1 3 (2-2-5)
    ASEN 102 ภาษาอาเซียนเพื่อการสื่อสาร 2 3 (2-2-5)

1.3 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จำนวน 6 หน่วยกิต
    MATH 100 คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน 2 (2-0-4)
    TECH 100 สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ 2 (2-0-4)
    SCIE 100 สิ่งแวดล้อมกับชีวิต 2 (2-0-4)

1.4 กลุ่มวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม จำนวน 2 หน่วยกิต
    LEAC 100 การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม 1 1 (0-3-2)
    LEAC 200 การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม 2 1 (0-3-2)

2.หมวดวิชาเฉพาะด้าน 97 หน่วยกิต

2.1 กลุ่มวิชาแกนนิเทศศาสตร์ 36 หน่วยกิต ประกอบด้วย
    COMM 101 หลักและทฤษฎีการสื่อสาร 3 (3-0-6)
    COMM 102 หลักการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ และสื่อสารการตลาด 3 (3-0-6)
    COMM 103 วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และสื่อดิจิทัลเบื้องต้น 3 (3-0-6)
    COMM 104 นิเทศศิลป์เบื้องต้น 3 (2-2-5)
    COMM 201 เทคนิคและปฏิบัติการถ่ายภาพ 3 (2-2-5)
    COMM 202 เทคนิคการเขียนเพื่องานนิเทศศาสตร์ 3 (2-2-5)
    COMM 203 จิตวิทยาและการโน้มน้าวใจ 3 (2-2-5)
    COMM 205 คอมพิวเตอร์เพื่องานนิเทศศาสตร์ 3 (2-2-5)
    COMM 206 กฎหมายและจริยธรรมสำหรับนักนิเทศศาสตร์ 3 (3-0-6)
    COMM 208 นวัตกรรมสื่อกับสังคมและการรู้เท่าทันสื่อ 3 (3-0-6)
    COMM 209 ภาษาอังกฤษสำหรับนักนิเทศศาสตร์ 1 3 (2-2-5)
    COMM 210 ภาษาอังกฤษสำหรับนักนิเทศศาสตร์ 2 3 (2-2-5)

2.2 กลุ่มวิชาชีพทางนิเทศศาสตร์ จำนวน 39 หน่วยกิต

2.2.1 กลุ่มวิชาเอกบังคับ จำนวน 9 หน่วยกิต
    CART 481 สัมมนานิเทศศาสตร์ 3 (1-4-4)
    CART 482 โครงงานนิเทศศาสตร์ 1 3 (1-4-4)
    CART 483 โครงงานนิเทศศาสตร์ 2 3 (1-4-4)

2.2.2 กลุ่มวิชาเอกเลือก จำนวน 30 หน่วยกิต โดยเลือกเรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้
    CART 311 การผลิตภาพและเสียง 1 3 (2-2-5)
    CART 312 การเขียนเพื่อสื่อวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล 3 (2-2-5)
    CART 313 การกำกับรายการ 3 (2-2-5)
    CART 314 การผลิตภาพและเสียง 2 3 (2-2-5)
    CART 315 การเล่าเรื่อง 3 (2-2-5)
    CART 316 ผู้ประกาศและผู้ดำเนินรายการ 3 (2-2-5)
    CART 321 พฤติกรรมผู้บริโภค 3 (3-0-6)
    CART 322 การสร้างสรรค์และการผลิตสื่อ 3 (2-2-5)
    CART 323 การวางแผนสื่อ 3 (2-2-5)
    CART 324 กลยุทธ์การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ 3 (3-0-6)
    CART 325 การวิจัยโฆษณาและประชาสัมพันธ์ 3 (2-2-5)
    CART 326 เทคนิคการนำเสนอ 3 (2-2-5)
    CART 331 การออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้และสื่อปฏิสัมพันธ์ 3 (2-2-5)
    CART 332 แอนิเมชั่น 2 มิติ 3 (2-2-5)
    CART 333 โมชั่นกราฟิก 3 (2-2-5)
    CART 334 การออกแบบสิ่งพิมพ์ดิจิทัล 3 (2-2-5)
    CART 335 แอนิเมชั่น 3 มิติ 3 (2-2-5)
    CART 336 การออกแบบข้อมูล 3 (2-2-5)
    CART 411 สุนทรียภาพและเสียง 3 (2-2-5)
    CART 412 การถ่ายวีดีทัศน์ 3 (2-2-5)
    CART 413 การลำดับวีดีทัศน์และปรับแต่งสีภาพ 3 (2-2-5)
    CART 414 การจัดการธุรกิจสื่อกระจายเสียงและสื่อดิจิทัล 3 (2-2-5)
    CART 421 กิจกรรมทางการตลาดเชิงสร้างสรรค์ 3 (2-2-5)
    CART 422 การสื่อสารแบรนด์ 3 (3-0-6)
    CART 423 การจัดการแคมเปญ 3 (3-0-6)
    CART 424 การจัดการธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ 3 (3-0-6)
    CART 431 การกำกับศิลป์ 3 (2-2-5)
    CART 432 การจัดแสงและองค์ประกอบฉากเสมือนจริง 3 (2-2-5)
    CART 433 แอนิเมชั่น 3 มิติขั้นสูง 3 (2-2-5)
    CART 434 การจัดการธุรกิจออกแบบกราฟิก 3 (2-2-5)

2.3 กลุ่มวิชาโท 15 หน่วยกิต
    สำหรับนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต ให้เลือกเรียนวิชาโทภายนอกคณะที่เปิดสอนโดยมหาวิทยาลัยไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต โดยให้เป็นไปตามเงื่อนไขวิชาโทของหลักสูตรนั้นๆ

2.4 กลุ่มวิชาฝึกปฏิบัติหรือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 7 หน่วยกิต
    WILC 191 การเตรียมความพร้อมสำหรับฝึกวิชาชีพ 1 (1-0-0)
    WILC 192 การฝึกวิชาชีพนิเทศศาสตร์ 1 2 (0-200-0)
    WILC 292 การฝึกวิชาชีพนิเทศศาสตร์ 2 2 (0-200-0)
    WILC 392 การฝึกวิชาชีพนิเทศศาสตร์ 3 2 (0-200-0)

    ** เมื่อเรียนรายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครบแล้ว นักศึกษาสามารถเลือกเรียนรายวิชาการปฏิบัติ งานสหกิจศึกษา เพิ่มเติมได้อีกตามความประสงค์
    WILC 491 การปฏิบัติงานสหกิจศึกษา 6 (0-600-0)

3.หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

    3.1 ให้นักศึกษาเลือกเรียนรายวิชาที่เปิดสอนในคณะวิชา ได้แก่
    CART 341 หัวข้อคัดสรรทางนิเทศศาสตร์ 1 3 (1-4-4)
    CART 441 หัวข้อคัดสรรทางนิเทศศาสตร์ 2 3 (1-4-4)

    3.2 หรือเลือกเรียนจากรายวิชาใดๆ ที่เปิดสอนในสาขาวิชาหรือคณะอื่นๆในระดับปริญญาตรี โดยได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาและ/หรือหัวหน้าสาขา รวมกันไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

Author: SAKU